วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552

เชิญเที่ยวงานย่าโม 2552 Welcome to Tao-Suranaree Fair2009

วันที่ 23 มีนาคม ถึง 3 เมษายน 2552 นี้มีการจัดงานท้าวสุรนารีประจำปี ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด ปีนี้โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้จัดให้มีการแสดงแสง สี เสียง เรื่องวีรกรรมท่านท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) ซึ่งกำกับการแสดงโดยท่านมุ้ย และนำแสดงโดย สรพงษ์ ชาตรี ณ บริเวณสนามกีฬาทหารหน้าค่ายสุรนารี

ผู้เขียนได้มีโอกาสไปชมการแสดงและเก็บภาพมาฝากในค่ำคืนวันที่ 24 มีนาคม 2552 ซึ่งเป็นคืนที่ 2 ของงาน ก่อนเข้าชมการแสดงก็มีภาพบรรยากาศงานย่าโม ซึ่งผู้เขียนไม่เคยได้ไปเที่ยวอีกเลยตั้งแต่ปี 2519 โน่น อ่านประวัติคุณย่าโมเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ
http://www.koratweek.com/index.php?option=com_content&task=view&id=25&Itemid=41

On March 23 to April 3,2009 Tao-Suranaree Fair has been held for twelve nights. This year is so special. Because they have light and sound historic play of Korat Town and its heroines. As we can see Ya Mo statue in town.
ขอเชิญท่านชมภาพการแสดงวีรกรรมท่านท้าวสุรนารี ณ บัดนี้ค่ะ
ณ ขณะนั้นเหตุการณ์บ้านเมืองยังสงบสุข






และแล้วท่านพระยาปลัดก็ต้องไปราชการที่เมืองขุขันธุ์ ปล่อยให้คุณหญิงโมดูแลบ้านเมือง
เมื่อเจ้าอนุวงค์ยกทัพมาตีเมืองโคราช และกวาดต้อนชาวบ้านไปเวียงจันท์

คุณหญิงโมและนางสาวบุญเหลือจึงวางอุบายให้สาวๆเลี้ยงเหล้าทหารและเข้ายึดค่ายจนได้ชัยชนะ
การแสดงจบลงด้วยความประทับใจโดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นเราก็เดินไปตามเส้นทางถนนคนเดิน(ถนนโคราชย้อนยุค)เพื่อชมศิลป หัตถกรรมพื้นบ้าน บ้านโบราณ การแสดงลิเก ลำตัด ซึ่งเด็กรุ่นใหม่ไม่ไคร่ที่จะชื่นชอบนัก เส้นทางคนเดินเริ่มตั้งแต่ทางรถไฟ ไปตามถนนหน้าวัดสุทธจินดา
เมื่อข้ามทางรถไฟแล้วก็ถึงจวนผู้ว่าฯ ท่านเปิดจวนให้ชม มีการสาธิตการแสดงศิลปดนตรี
ผู้เขียน(ที่สองจากซ้าย) นายปกรณ์ เนตระกูล สาธารณสุขอำเภอโนนสูง (ที่สามจากซ้าย)และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอโนนสูง นครราชสีมา ได้รับเกียรติให้ถ่ายภาพร่วมกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายประจักษ์ สุวรรณภักดี (ใส่เสื้อลายสก็อต) และท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ผู้ริเริ่มโครงการถนนคนเดินคนโคราชย้อนยุค นายแพทย์ สำเริง แหยงกระโทก (หรือหมอแหยง ใส่เสื้อโคราชสีส้ม)
เข้าเยี่ยมชมแปลงสาธิตเศรษฐกิจพอเพียงของท่านผู้ว่า ฯ ซึ่งท่านมักปรุงอาหารเลี้ยงข้าราชการเป็นประจำ และยังทำอาหารกลางวันไปเลี้ยงนักเรียนตามชนบทอีกด้วย


เลี้ยงกบคอนโด


ถ่ายรูปด้วยเครื่องแต่งกายย้อนยุค

ออกจากจวนผู้ว่าฯสู่ ถนนสายหน้าวัดสุทธจินดา




เข้าสู่บ้านพักท่านปลัดจังหวัด ชมนิทรรศการบ้านโบราณและหัตถกรรมชาวบ้าน




นึกว่าหุ่นน่ะ

บ้านโคราช
กลุ่มแม่บ้านทอผ้าหางกะรอก จากตำบลขามสมบูรณ์ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา กำลังโชว์ผ้าจากฝีมือชาวบ้าน

ผ้าหางกระรอก ผ้าที่นำมาใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม ที่มีความประณีตสวยงาม เป็นที่รู้จักกันดีมาแต่โบราณ จนเป็นที่รู้จักของคน โคราชและคนทั่วไป
ผ้าหางกระรอกเป็นผ้าพื้น ที่มีลักษณะพิเศษ ซึ่งน่าจะเรียกชื่อตามผิวสัมผัส เพราะลายที่ปรากฎบน เนื้อผ้า เป็นเส้นฝอยฟู มองดูเหมือนขนอ่อน ๆ เหลือบระยับ คล้ายกับขนของหางกระรอกแลดูสวยงาม แปลกตา
วัสดุที่ใช้สำหรับทอผ้าหางกระรอก ได้แก่ เส้นใยไหมหรือเส้นใยฝ้าย ผ้าหางกระรอกที่ทอด้วยไหม เนื้อผ้ามีลักษณะละเอียด เย็นเป็นเงามีสีเหลือบ ถ้าทอด้วยพิม ๒ ตะกอ สีของผ้าจะมีสีเดียวกันทั้ง ๒ ด้าน แต่ถ้าทอด้วยพิม ๓ ตะกอ สีของผ้าด้านหนึ่งจะมี สีอ่อน สามารถเลือกใช้สีเข้มหรืออ่อนได้ตามความต้องการ ถ้าใช้เส้นใยฝ้าย เนื้อผ้าจะไม่ละเอียดเป็นเงาลายฝอยฟูที่ปรากฎบนเนื้อผ้า แลดูไม่ละเอียดอ่อนเท่าลายผ้าที่ทอด้วยไหม
กรรมวิธีในการทอผ้าหางกระรอก ใช้วิธีการเดียวกับการทอผ้าพื้นทั่วไป ต่างกันตรงไหมที่ใช้ทำเส้น พุ่ง ต้องใช้ไหม๒ เส้น นำมาตีเกลียวหรือควบด้วยวิธีปั่น เส้นพุ่ง ๒ เส้นให้เป็นเส้นเดียวกัน เส้นหนึ่งจะ เป็นสีของไหมยืน อีกเส้นหนึ่งต้องเลือกสีให้ กลมกลืนเหลือบ จึงเรียกไหมนี้อีกอย่างหนึ่งว่า ไหมลูกลาย นำไปพุ่งกับเส้นยืน ทอออกมาเป็นเนื้อผ้า แลดูเป็นเส้นฝอยฟูเหลือบ ระยับผ้าหางกระรอกแต่ละผืนยาว กว่าผ้านุ่งธรรมดา ๒ เท่า เพราะสมัยก่อนทอสำหรับใช้นุ่งโจงกระเบน
การประยุกต์ใช้ นอกจากใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม เช่น ใช้นุ่งโจงกระเบน ตัดเสื้อพระราชทาน ตัดเครื่อง แต่งกายสตรี ฯลฯ แล้วยังใช้เป็นผ้าในพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น ผ้านุ่งบวชนาค ผ้าคลุมศพ ผ้าห่อบาตร คู่บ่าวสาวบางคนใช้สำหรับเป็นผ้าไหว้ เศษผ้าที่ เหลือนำไปประดิษฐ์เป็นพวงกุญแจ กระเป๋าถือ ผ้าปูโต๊ะ ผ้ารองจาน ฯลฯ
ที่มาของบทความ : http://www.kanchanapisek.or.th/kp8/nrs/nrs504.html












กว่าจะออกจากงานได้ก็ห้าทุ่มครึ่งแล้วถึงบ้านก็เกือบตีหนึ่ง สำหรับท่านที่ยังไม่ตัดสินใจไปชมการแสดงแสง สี เสียง (ฟรี) ก็สามารถไปชมได้ในวันที่ 27-28 มี.ค.52 และ 2-3 เม.ย.52 เท่านั้นค่ะ